Quantcast
Channel: business IDO – rackmanagerpro.com
Viewing all articles
Browse latest Browse all 53

Logic ขั้นตอน การกำหนดวันหยุดประจำปีขององค์กรบริษัทห้างร้าน

$
0
0

Calendar กำหนดวันหยุดประจำปี ของไทย

Logic การกำหนดวันหยุดประจำปีเพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย

เพื่อให้การกำหนดวันหยุดประจำปี สอดคล้องกับกฏหมายทุกประการ ท่านเจ้าของกิจการ หรือคนที่ทำหน้าที่กำหนดให้เริ่มทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยการกำหนดตามบทความนี้เพื่อใ้ช้กับการพิจารณาวันหยุดประจำปีที่เป็นไปตามกฏหมายคืออย่างน้อยเท่ากับ 13 วันของปี

  1. เริ่มจากการหาข้อมูลที่ราชการกำหนดออกมาว่าวันใดของปีต่อไปที่กำลังกำหนดนั้นคือเป็นวันหยุดราชการหรือวันหยุดประเพณีประจำปีนั้นๆ
  2. ให้ผู้กำหนดวันหยุดกำหนดวันหยุดโดยเลือกเอาไว้หยุดประจำปีที่กำหนดนั้นตรงๆเสียก่อนโดยไม่ต้องสนใจว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์หรือไม่
  3. ใช้เงื่อนไขต่อไปนี้ในการเลื่อนวัน เมื่อได้วันหยุดประจำปีแล้วมองว่าถ้าหากว่าตรงกับวันทำงานปกติของพนักงาน ก็กำหนดเป็นวันหยุดนั้นๆได้ทันที แต่ถ้าหากว่าวันหยุดที่ได้กำหนดนั้นเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์อยู่แล้ว ให้กำหนดเป็นวันที่ทำการวันถัดไปเป็นวันหยุดชดเชยแทน

หมายเหตุ :

  • ไม่สามารถเลื่อนวันหยุดชดเชยเป็นวันก่อนหน้าวันหยุดได้ เช่น หากวันปีใหม่ตรงวัน อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จะให้กำหนดวันชดเชยเป็นวันจันทร์แทน (คือวันแรกที่ไม่ใช่วันหยุดชดเชย)
  • ไม่สามารถกำหนดวันหยุดประจำปีได้เอง(ที่จะนับเป็น วันในสิบสามวันนั้น) แต่ต้องเป็นวันหยุดจากที่ราชการกำหนดให้หยุดเาไว้เท่านั้น ถึงจะนับ แต่วันหยุดอื่นๆ ถ้าหากว่ากำหนดจะไม่นับรวมใน สิบสามวันแรกขั้นต่ำนั้น
  • ไม่สามารถมองจากวันหยุดชดเชยว่าเป็นวันหยุดได้เพราะการกำหนดวันหยุดประจำปีต้องกำหนดจากวันหยุดที่เป็นวันหยุดตามขนบหรือราชการกำหนดที่แท้จริง

คุณสามารถอ่านเนื้อความทางกฏหมายที่ได้กำหนดเอาไว้จากด้านล่างนี้

วันหยุดตามประเพณี

       ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา ๒๙ กำหนดว่า “  ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปีวันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไปในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้”

      วันหยุดตามประเพณี  นายจ้างมีอำนาจในการกำหนดเอง   โดยไม่ต้องตกลงหรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน   ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด  คือ ให้พิจารณาจากวันหยุดราชการ   วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น   เช่น  วันขึ้นปีใหม่   วันสงกรานต์  วันเข้าพรษา  ออกพรรษา  เป็นต้น   ปีหนึ่งต้องกำหนดไม่น้อยกว่า  ๑๓  วัน  มากกว่าได้   น้อยกว่าไม่ได้

     การกำหนดวันหยุดตามประเพณี   ต้องเป็นวันหยุดตามประเพณีจริง ๆ เช่น  วันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันอังคารและวันพุธ  แต่บริษัท ฯ เห็นว่าวันจันทร์ คั่นกลางอยู่  จึงเปลี่ยน  เป็น วันจันทร์และวันอังคารแทน  อย่างนี้  ถือว่า  วันจันทร์ไม่ใช่วันหยุดตามประเพณี  กำหนดไม่ได้

      หากวันหยุดตามประเพณีวันใด  ตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์  สามารถเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันทำงานถัดไปได้  เช่น  วันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันอาทิตย์  ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์  นายจ้างก็สามารถเลื่อนไปหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่  ในวันจันทร์เพิ่มเติมได้

      ในลักษณะงานใด  อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สามารถหยุดตามประเพณีได้ เช่น  งานโรงแรม  งานสถานพยาบาล  งานบริการท่องเที่ยว  เป็นต้น  เพราะหยุดแล้วจะเสียหายแก่งาน  นายจ้างสามารถตกลงกับลูกจ้าง  ว่าจะกำหนดให้หยุดชดเชยในวันใดทดแทนก็ได้ หรือจะจ่ายเป็นค่าจ้างแทนก็ได้เช่นกัน


Viewing all articles
Browse latest Browse all 53

Trending Articles